ตู้ดูดควันสารเคมี, ตู้ดูดไอกรด (fume hood)
ความสำคัญ :
ตู้ดูดควันสารเคมีในห้องปฏิบัติการทางเคมีนั้น ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะทำหน้าที่ป้องกันการสูดดมไอสารเคมีของผู้ปฏิบัติงาน
และใช้ดูดอากาศที่มีไอสารเคมีออกนฃภายนอกอาคาร หรือบำบัด-กำจัดไม่ให้ฟุ้งกระจายภายในห้องแลบ โดยการใช้งานตู้ดูดควันที่เหมาะสมอย่างที่ไว้ข้างต้น
ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานจริงเพื่อให้ตอบโจทย์ และประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยสามารถแบ่งระบบดูดอากาศ หรือตู้ดูดควันสารเคมีได้หลักๆ 4 รูปแบบดังนี้
1.ตู้ดูด ค วัน แบบไร้ท่อเป็นตู้ดูดควัน สารเคมี หรือใช้เป็นตู้ดูดควันสารเคมีที่ไม่มีการต่อท่อออกนอกอาคาร มีชุดกรองอากาศในตัว
หรือเรียกภาษาอังกฤษว่า bench top ductless fume hood โดยมีมาตรฐานการผลิต และ ความเร็ว ลมของHoodรองรับตามมาตรฐานสากล
โดย Face velocity หรือแรงลมหน้าตู้ที่เหมาะสมต้องไม่น้อยกว่า 100 foot/min

2. Fume Hood คือตู้ ดูด ค วัน สารเคมี หรือ ตู้ดูดไอระเหย สารเคมีเป็นตู้ชนิดแบบต่อท่อออกนอกอาคาร มีหลากหลายวัสดุและเป็นที่นิยมใช้หลากหลาย
ใช้งานได้คลอบคลุม และคุ้มค่าแต่ต้องมีการติดตั้งตามมาตรฐาน
.jpg)
3. Canopy hood คือระบบดูดอากาศรูปแบบฝาชี ดูดเฉพาะที่ในวงกว้าง แต่ประสิทธิภาต้องขึ้นอยู่กับขนาดฝาชี และกำลังมอเตอร์ด้วย
เนื่องจากไม่ได้เป็นตู้และไม่มีผนังทำให้ควบคุมระยะการดูดได้ไม่ดีเท่าแบบชนิดเป็นตู้

4. Movable arm hood หรือ Mobile Arm Exhaust Hood เป็นรูปแบบการดูดอากาศเฉพาะจุดเล็กๆมีที่จำกัด เช่น บริเวณฝาถังสารเคมี หรทือบริเวณจุดทำงาน

ตู้ดูดควัน-ตู้ดูดกลิ่นสารเคมี (Laboratory chemical fume hoods) เป็นตู้ควัน ในห้องปฏิบัติการที่ใช้งานในการเป็นตู้ดูดควันสารเคมี โดยหน้าที่ในการทำงานนั้น
จะมีพัดลมอยู่ด้านบนตู้ดูดไอระเหย หรือมีมอเตอร์อยู่นอกอาคารเพื่อทำหน้าที่ดูดสารเคมี โดยทั่วไปอาจจะเรียกสั้นๆว่า hood ดูดสารเคมี ก็คือ Hood ที่ใช้ในการเตรียม สารเคมี
โดยเครื่องดูดกลิ่นสารเคมี หรือ Fume Hood นี้จะมีหลักการโยทั่วไปคล้ายๆกัน คือมีพัดลมที่ได้มาตรฐานเพื่อดูดอากาศ ไอสารเคมี และกลิ่นออกไปยังนอกอาคาร เพื่อบำบัด หรือ
กำจัดตามกระบวนการ โดยการใช้ตู้ดูดควันที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท เช่น ขนาดความกว้างที่ต้องการ,ลักษณะงานที่ใช้งานจริงเพื่อเลือกวัสดุ
และรูปแบบตู้ที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานที่ดี
โดยทั่วไปตู้ดูดควันไอสารเคมี จะมีเรทราคาตามาตรฐาน โดยราคาจะขึ้นอยู่กับวัสดุ คุณภาพ และประเทศผู้ผลิตด้วย ซึ่งจะต้องเลือกโดยสามารถโทรปรึกษากับผู้มีประสบการณ์ของบริษัทได้
เนื่องจากมีให้เลือกหลายแบบ หลายขนาด และหลายวัสดุตามความเหมาะสม โดยตัวตู้ดูดควันไอสารเคมี มีวิธีใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก เพื่อความสะดวก และเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
โดยทั่วไปจะมีตู้ ดูด ค วัน สารเคมีแบบสำเร็จรูปคือมีรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป และมีทั้งตู้ดูดควันสารเคมี ที่เป็นการสั่งผลิตตามขนาดที่ต้องการเพื่อให้ตรงกับการใช้งานจริง
โดยราคาตู้ดูดควันนั้นจะแตกต่างกันตามวัสดุ ขนาด และรูปแบบการติดตั้งด้วย ซึ่งทางบริษัทมีจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยาว์เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าที่ต้องการใช้ตู้ดูดควันสารเคมี
ตู้ดูดไอกรด ตู้ดูดกลิ่นสารเคมี (fume hood) ทุกท่าน

หลักการและคำอธิบาย :
เตาเผาอุณหภูมิสูง (Muffle Furance) เป็นเครื่องที่ใช้เผาชิ้นงาน เผาวัสดุ ใช้หลอมโลหะ หรือเปลี่ยนรูปร่างทั้งทางกายภาพ และทางเคมีของวัสดุตามต้องกา
สามารถตั้งค่าอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 1700 องศาเซลเซียส โดยจะมีหลากหลายแบรนด์ในตลาด เช่น carbolite, Nabertherm เป็นต้น โดยเตาเผาทุกชนิดต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิที่สูงได้โดยมีให้เลือกเช่น 1000 องศาเซลเซียส, 1200 องศาเซลเซียส, 1400 องศาเซลเซียส, 1700 องศาเซลเซียส ดังที่กล่าวข้างต้น
ซึ่งเตาเผาอุณหภูมิสูงหรือ furnace มีหลักการทํางานโดยการใช้ไฟฟ้าให้ความร้อนไปยังขดลวด(Heating furnace หรือ Heating elememt) เพื่อให้มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์โดยไม่มีเขม่า
ไม่เกิดเขม่าจากขดลวดเรียกการเผานี้ว่า การสันดาปที่สมบูรณ์ (Complete combustion) โดยมีทั้งแบบเตาเผาให้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Electric muffle Furnace) และเตาเผาในอุตสาหกรรม (Industrial furnaces)
โดยอาศัยหลักการเดียวกันโดยขดลวดข้างต้น (Heating furnace) โดยวิธี ใช้ เตา เผา Furnace แต่ละรุ่น
แต่ละยี่ห้อหรือแบรนด์จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป แต่มีจุดประสงค์และการทำอุณหภูมิคล้ายๆกัน
คุณสมบัติและการใช้งาน : ใช้เป็นเตาเผา,เตาหลอมโลหะที่สามารถตั้งอุณหภูมิสูงได้ ได้อุณหภูมิสูงและคงที่
สามารถสอบเทียบค่าอุณหภูมิตามมาตรฐานได้ สามารถตั้งค่าเวลาการทำงานได้ เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานตามต้องการ
ผลจากการใช้งาน :
เป็นเตาเผาอุณหภูมิสูงระบบไฟฟ้า (laboratory electric muffle furnace)ที่สามารถใช้หลอมโลหะให้เป็นเนื้อเดียวกัน หรือ เผาสิ่งเจือปน (Remove contaminants)
เพื่อทำลายเพื่อแยกออกจากชิ้นงานหรือโลหะนั้นได้ รวมถึงใช้เปลี่ยนรูปร่างวัสดุ (Change material shape) เปลี่ยนคุณสมบัติทั้งทางกายภาพ (Physical properties) และทางเคมี (Both chemical properties) ของวัสดุได้ตามความต้องการ